Page 12 - CoverAnnualReport2020.indd
P. 12

รายงานประจำาปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓
                                                                                            จังหวัดร้อยเอ็ด


                        ➣ ด้ำนเศรษฐกิจ
                        โครงสร้างทางเศรษฐกิจของจังหวัดร้อยเอ็ดขึ้นอยู่กับภาคการค้าส่งและการค้าปลีก ภาคการเกษตรกรรม

            และภาคการศึกษาเป็นส�าคัญตามล�าดับ โดยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด (GPP) ประจ�าปี 2560 จ�านวน 73,485
            ล้านบาท อยู่ล�าดับที่ 6 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและล�าดับที่ 37 ของประเทศ รายได้ต่อหัวต่อปี 68,751 บาท

            เป็นล�าดับที่ 11 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และอยู่ในล�าดับที่ 65 ของประเทศ


            ตำรำงที่ 1 รำยได้ประชำกรตำมผลิตภัณฑ์มวลรวม หน่วย : ล้ำนบำท

                                  สำขำ                         ปี 2557     ปี 2558     ปี 2559     ปี 2560

             ภาคเกษตร                                           16,838      15,760      15,655      14,588
             ภาคนอกเกษตร                                        47,588      50,929      54,818      58,897

             ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด                             64,426      66,689      70,473      73,485

             ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อคน (บาท)                  59,829      62,068      65,755      68,751

             ประชากร (1,000 คน)                                   1,077       1,074       1,072       1,069
            ที่มา : ส�านักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ส�านักงานคลังจังหวัดร้อยเอ็ด

                        ➣ ด้ำนกำรเกษตร

                        ประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัดร้อยเอ็ดประกอบอาชีพเกษตรกรรม คือ การท�านาข้าว โดยในปีการเพาะปลูก
            2561/2562 มีพื้นที่ปลูกข้าวเหนียวและข้าวเจ้า รวม 2,997,745.77 ไร่ มีรายได้เฉลี่ยการผลิตข้าวหอมมะลิและ

            ข้าวเหนียว  12,229,153,379.90 บาท โดยจังหวัดร้อยเอ็ดเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิขึ้นชื่อในพื้นที่
            ทุ่งกุลาร้องไห้ ในเนื้อที่ จ�านวน 986,807 ไร่ ซึ่งลักษณะพิเศษของข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้จังหวัดร้อยเอ็ด คือ หอม
            เรียว ยาว ขาว นุ่ม กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ประกาศขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้

            แล้วตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน 2550 และค�าขอดังกล่าวได้รับการคัดเลือกให้เป็นค�าขอน�าร่องที่ยื่นขอจดทะเบียน
            สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในกลุ่มสหภาพยุโรป (EU) ด้วย

                        พืชเศรษฐกิจที่ส�ำคัญของจังหวัดร้อยเอ็ด นอกจากข้าวหอมมะลิซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจส�าคัญของจังหวัด
            แล้ว ยังมีพืชเศรษฐกิจส�าคัญอื่นๆ ที่เกษตรกรนิยมปลูกเพื่อเพิ่มรายได้  ได้แก่ มันส�าปะหลัง อ้อย ยางพารา และยาสูบ
            เตอร์กิส ส�าหรับด้านการประมง ได้แก่ ปลากินพืช (นิล ,ไน ,ตะเพียบ,ยีสก) ปลากินเนื้อ (ปลาดุก) ปลานิลในกระชัง กบ

            กุ้งก้ามกราม ด้านปศุสัตว์ ได้แก่ การเลี้ยงโค กระบือ สุกร ไก่ และเป็ด เป็นต้น

                        ➣ ด้ำนกำรท่องเที่ยว

                        จังหวัดร้อยเอ็ดมีแหล่งท่องเที่ยวที่ส�าคัญ คือ พระมหาเจดีย์ชัยมงคล บึงพลาญชัย บึงเกลือ ศูนย์แสดง
            พันธุ์สัตว์น�้า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติร้อยเอ็ด สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ร้อยเอ็ด วนอุทยานผาน�้าย้อย สวนพฤกษศาสตร์

            และวรรณคดี กู่กาสิงห์ บ่อพันขัน ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาและวัฒนธรรมร้อยเอ็ด และหอโหวดร้อยเอ็ด เป็นต้น
            โดยในปี 2562 มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเที่ยวในจังหวัด จ�านวน 937,752 คน แบ่งเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทย
            931,339 คน และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ จ�านวน 6,413 คน มีรายได้จากการท่องเที่ยว จ�านวน 1,483.94 ล้านบาท

            ทั้งนี้จังหวัดร้อยเอ็ดมีจ�านวนโรงแรมทั้งหมด 161 แห่ง และมีห้องพักรวม 3,353 ห้อง มีศักยภาพสามารถรองรับ
            นักท่องเที่ยวได้อย่างเพียงพอ







                                                                                   ANNUAL REPORT 2020      5
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17