Page 10 - CoverAnnualReport2020.indd
P. 10

รายงานประจำาปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓
                                                                                            จังหวัดร้อยเอ็ด


                   1.4 ประวัติควำมเป็นมำของจังหวัดร้อยเอ็ด


                        เมืองร้อยเอ็ดแต่เดิมเคยเป็นเมืองใหญ่เจริญรุ่งเรืองมาก เรียกว่า เมืองสาเกตุนครหรืออาณาจักรกุลุนฑะ
            นครมีประตูเข้า ๑๑ ประตู มีเมืองขึ้นทั้งสิ้น ๑๑ เมือง ตามต�านานอุรังคธาตุได้เล่าว่ามีนครใหญ่แห่งหนึ่งชื่อว่าอาณาจักร

            กุลุนฑะนคร มีเมืองหลวงชื่อสาเกต เจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่น เจ้าผู้ครองนครชื่อ “พระเจ้ากุลุนฑะ” มีกุศโลบายในการ
            ปกครองที่ชาญฉลาดโดยให้ขุดคูน�้าท�าคันดินเป็นก�าแพงสูงรอบเมือง เจาะช่องทางเข้าเมืองจ�านวน 1๑ ประตู ตามจ�านวน

            เมืองขึ้น ๑1 เมือง (โบราณเขียน ๑๑ เป็น ๑๐๑ คือสิบกับหนึ่ง) ก�าหนดรหัสเข้าเมืองอย่างรัดกุม เมื่อมีเหตุร้ายเกิดขึ้น
            ให้เป่าปี่ซาววา (ปี่ ๒๐ วา) เป็นสัญญาณและใช้ม้าเร็วชื่อแม่แลแจ้งเหตุนั้นๆ การปกครองมีความร่มเย็นเป็นสุขสืบมา
            จนถึงสมัยพระเจ้าสุริยวงษาธรรมมิกราช ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากถูกพวกขอมคุกคาม จึงพาไพร่พลอพยพ

            ไปอยู่แหล่งใหม่ หัวเมืองขึ้นก็เกิดการกระด้างกระเดื่องจนถึงการวิบัติในที่สุด
                        ในปี พ.ศ. ๒๒๕๖ พระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร เจ้าผู้ครองนครจ�าปาศักดิ์ได้มอบหมายให้จารย์แก้ว

            คุมไพร่พลมาสร้างเมืองชื่อว่าเมืองท่ง (ทุ่ง) (อ�าเภอสุวรรณภูมิ) ให้จารย์แก้วเป็นเจ้าเมืองขึ้นตรงต่อนครจ�าปาศักดิ์
            เมื่อจารย์แก้วถึงแก่กรรม ท้าวมืดบุตรคนโตของจารย์แก้วได้เป็นเจ้าเมือง และท้าวทนผู้เป็นน้องชายเป็นอุปราช
            เมื่อท้าวมืดถึงแก่กรรมท้าวทนได้ขึ้นเป็นเจ้าเมืองแทนสร้างความไม่พอใจแก่ท้าวเซียงและท้าวศูนย์บุตรชายท้าวมืด

            เป็นอันมาก ท้าวเชียงกับท้าวศูนย์ได้แต่งเครื่องบรรณาการไปขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระเจ้าเอกทัศน์
            แห่งกรุงศรีอยุธยา ให้ส่งคนมาเจรจาขอคืนอ�านาจจากท้าวทนจนส�าเร็จเมื่อท้าวทนสละต�าแหน่งให้แก่หลานทั้งสอง

            ก็ได้รวมไพร่พลกลุ่มหนึ่งอพยพมาสร้างเมืองใหม่ที่บริเวณบ้านกุมร้าง หรือเมืองสาเกตเดิม (เมืองร้อยเอ็ดในปัจจุบัน)
            และมีใบบอกไปยังกรุงธนบุรีขอพระราชทานอนุญาตตั้งบ้านกุ่มร้างขึ้นเป็นเมืองร้อยเอ็ด
                        ในปี พ.ศ.2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้รวมหัวเมืองต่างๆ ในภาคอีสาน

            เป็นบริเวณส�าคัญ ๓ บริเวณ คือ หัวเมืองลาวกลาง หัวเมืองลาวกาว และหัวเมืองลาวพวน โดยเมืองร้อยเอ็ดขึ้นกับมณฑล
            ลาวกาว ต่อมาในปี พ ศ.๒๔๔๒ ได้โปรดให้เปลี่ยนชื่อมณฑลลาวกาวเป็นมณฑลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และต่อมาเป็น

            มณฑลอีสาน
                        เมืองร้อยเอ็ดทวีความส�าคัญมากขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้แยก
            มณฑลอีสานเป็น ๒ มณฑล คือ มณฑลอุบล และมณฑลร้อยเอ็ดและต่อมาในปี พ.ศ.2๔๖๕ ได้โปรดให้รวมมณฑลอุดร

            มณฑลอุบล และมณฑลร้อยเอ็ด เป็น “ภาคอีสาน” จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๔๖๖ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
            โปรดให้ยุบมณฑลอุดร มณฑลอุบล และมณฑลร้อยเอ็ด เป็นจังหวัดเทียบเท่าเมืองอื่นๆ ที่เคยขึ้นกับมณฑลทั้งสาม และ

            เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 รูปแบบการปกครองแบบมณฑล ได้สิ้นสุดลง มณฑลร้อยเอ็ดจึงถูก
            เปลี่ยนแปลงมาเป็นจังหวัดร้อยเอ็ดในปัจจุบัน



                   1.5 ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดร้อยเอ็ด


                        ➣ อำณำเขต ที่ตั้ง กำรปกครอง และประชำกร
                        จังหวัดร้อยเอ็ดตั้งอยู่ตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยทางรถยนต์

            ประมาณ 512 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งสิ้น 8,299.46 ตารางกิโลเมตร หรือ 5,187,156 ไร่ มีเขตแดนติดต่อกับ
            จังหวัดอื่น ได้แก่ ทิศเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือ จรดจังหวัดกาฬสินธุ์ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดจังหวัดมุกดาหาร
            ทิศตะวันออก จรดจังหวัดยโสธร ทิศตะวันออกเฉียงใต้ จรดจังหวัดศรีสะเกษ ทิศใต้ จรดจังหวัดสุรินทร์ ทิศตะวันตก

            จรดจังหวัดมหาสารคาม





                                                                                   ANNUAL REPORT 2020      3
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15